เมื่อบทบาทหน้าที่ของครูไม่ได้มีแค่การสอน

เทคโนโลยีดิจิทัลกับระบบทะเบียนการศึกษาไทย


จะช่วยลด
‘ภาระ’ งานให้ครูได้อย่างไร

ทุกโรงเรียนเปิดเทอมแล้ว เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดยในภาคการศึกษาที่ 2/2564 นี้ โรงเรียนหรือสถานศึกษา สามารถจัดการเรียนการสอนได้ทั้งรูปแบบ On-site หรือ Online หรือ แบบผสมผสาน (Hybrid) ได้ ตามความเหมาะสมของแต่ละโรงเรียนและเขตพื้นที่

จากการระบาดระรอก 3 เมื่อต้นปี 2564 ทำให้ทุกพื้นที่ต้องตกอยู่ภายใต้มาตรการล็อคดาวน์ กว่าหลายเดือนที่ครูและนักเรียนทุกระดับชั้นต้องทำการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ การเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลมาจากโรคระบาดไวรัส Covid-19 นี้ ล้วนส่งผลกระทบต่อทั้งผู้เรียนและผู้สอน แม้ว่าจะนานเสียจนทุกคนเริ่มปรับตัวได้แล้ว แต่หลายภาคส่วนก็ยังคงมีการกล่าวถึงประสิทธิผล โดยคำนึงถึงตัวผู้เรียนเป็นหลัก แต่หากมองให้รอบด้าน รูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นส่งผลกระทบต่อครูผู้สอนเป็นอย่างมากเช่นกัน

Online & On-site ส่วนผสมการศึกษาที่ลงตัว หรือ ‘ภาระ’ งานที่เพิ่มขึ้นของครูผู้สอน

เราทุกคนต่างรู้ว่าการเรียนการสอนออนไลน์นั้นส่งผลกระทบในด้านลบมากกว่าด้านบวก ไม่ใช่จากการจินตนาการหรือเดาสุ่ม แต่เด็กนักเรียนและผู้ปกครองต้องเผชิญกับปัญหานี้ยาวนานด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความเครียดที่เพิ่มขึ้น ปัญหาด้านอุปกรณ์การเรียนที่ไม่พร้อม หรือสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี แต่นั่นก็เป็นผลกระทบที่ทางฝั่งของผู้เรียนได้รับ

หากลองมองให้กว้างขึ้น จะเห็นว่า มิใช่เพียงแต่ตัวผู้เรียนเท่านั้นที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง และต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการปรับตัวให้สามารถเรียนออนไลน์ได้ตลอดเทอมการศึกษาที่ผ่านมา แต่ครูผู้สอนเองที่ต้องขยับปรับเปลี่ยนรูปแบบการเตรียมการสอนแบบเดิม ๆ ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงการติดตามและประเมินผลผู้เรียนที่แตกต่างออกไป

เมื่อกล่าวคำว่า “ครู” เราคงจินตนาการว่าครูมีหน้าที่ในการสอนนักเรียนอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ‘ภาระ’ งานของผู้ทำอาชีพครูมีมากกว่านั้น ครูยังต้องรับการประเมิน ทั้งในระดับโรงเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ

อีกทั้งยังต้องจัดทำรายงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นรายงานข้อมูลนักเรียนรายบุคคล รายงานภาวะทางโภชนาการของนักเรียน รายงานการเยี่ยมบ้าน รายงานกิจกรรมวันสำคัญ และรายงานอื่น ๆ ตลอดทั้งปีการศึกษา นอกจากนี้ยังมีงานกิจกรรมจากภายนอกโรงเรียน เช่น การจัดงานประกวดตามกลุ่มสาระวิชา เป็นต้น

เนื่องจากครูถือเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ปฏิบัติที่มีผู้บังคับบัญชามากมาย ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนต้องได้รับการประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่งและวิทยฐานะ โดยที่ครูจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานของเหล่าผู้บริหารอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เมื่อคุณครูไม่ได้ทำหน้าที่แค่สอน มองสถานการณ์ในมุมมองของครู ในฐานะคนปฏิบัติงานจริง

ในสภาวะปกติที่ครูก็มีภาระงานล้นมืออยู่แล้ว การเพิ่มรูปแบบการเรียนออนไลน์จากวิถีการทำงานที่เคยชิน ก็ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้ความพยายามในระดับหนึ่งเพื่อปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณครู Gen X และ Baby Boom ที่ใกล้วัยเกษียณไม่ประสีประสาเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ และนอกจากนักเรียนที่จำเป็นต้องสิ้นเปลืองทุนทรัพย์ในการจัดหาอุปกรณ์ใหม่ในการเรียนออนไลน์แล้ว คุณครูก็เช่นเดียวกัน

แม้ในขณะนี้ หลายโรงเรียนเริ่มกลับมาเปิดเรียนคล้ายกับปกติ บางโรงเรียนที่เรียนแบบ On-site เต็มตัว บางโรงเรียนก็ยังกล้า ๆ กลัว ๆ ใช้วิธีผสมแบบ Hybrid และบางโรงเรียนก็ยังคงเรียนแบบ Online 100% แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่า วันใดจะบังเกิดเหตุให้ไม่สามารถนั่งเรียนที่โรงเรียนได้อีก

การรูปแบบออนไลน์สามารถแก้ปัญหาได้บางอย่าง แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด ในขณะที่คุณครูกำลังหัวหมุนกับรูปแบบการเรียนการสอนที่ไม่คงที่ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตามความย่ำแย่ของสถานการณ์บ้านเมืองตลอดเวลา จะดีกว่าไหมถ้าอย่างน้อย ถ้าสำหรับคุณครูแล้ว สามารถจัดการภาระงานด้านอื่น ๆ อันได้แก่ งานที่นอกเหนือจากการพัฒนานักเรียน ให้จะเสถียรและชัดเจน มีนวัตกรรมหรือระบบการทำงานที่รองรับ ช่วยอำนวยความสะดวกและทุ่นแรงได้ไม่น้อย

ปฏิรูปการศึกษาคือคำตอบ แต่ทำอย่างไรจึงจะสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน

การศึกษาควรมีไว้เพื่ออะไร? โรงเรียนควรเป็นสถานที่สำหรับใคร? ครูควรมีบทบาทและหน้าที่อย่างไร? จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง คือความต้องการที่จะเปลี่ยน และทัศนคติที่มองเห็นความเป็นไปได้ ซึ่งภาระงานครู คือ หนึ่งในปัญหาที่สะสมในวงการการศึกษาไทยมายาวนาน แน่นอนว่าเวลาเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ก็ควรจำต้องมีการปรับให้เข้ากับบุคคลและยุคสมัย การยึดติดขนบหรือวิถีปฏิบัติเดิม ๆ ไม่ควรได้รับการเชิดชูว่าเป็นสิ่งถูกต้องเสมอไป การแก้ไขที่ยั่งยืน คือการแก้ปัญหาที่ต้นตอ กฎ ข้อกำหนด รูปแบบในการปฏิบัติงานของคุณครูนั้นต้องได้รับการปรับปรุง ในขณะที่โลกกำลังหมุนไปข้างหน้า แม้จะอ้างว่ามีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินการทางการศึกษาในด้านต่าง ๆ แล้ว แต่ก็เป็นเวลานานแล้วที่ยังหาจุดลงตัวไม่ได้สักที

เทคโนโลยีกับการศึกษาไทย จำเป็นมากกว่าการเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนการสอน

ในระบบการศึกษาไทยเต็มไปด้วยข้อมูลครูและนักเรียนจำนวนมาก อย่างที่ได้กล่าวไปว่ามีรายงานมากมายที่ครูต้องจัดทำให้แล้วเสร็จในแต่ละปีการศึกษา คงจะดีไม่น้อย หากมีเครื่องมีสามารถเข้ามาช่วยจัดการข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างมีกระสิทธิภาพ ทั้งรวบรวม แสดงผลรายงาน อีกทั้งยังเชื่อมโยงข้อมูลทั้งจากหน่วยงานภายในและภายนอกได้ ทำให้การนำส่งข้อมูล และการนำข้อมูลไปใช้สามารถทำได้อย่างคล่องตัว

TEZ (ทีอีซี่) แพลตฟอร์มออนไลน์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดภาระงานครูได้อย่างแท้จริง

หากพูดถึงเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาเราอาจจะนึกถึงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้เรียนให้ได้รับการเรียนรู้ที่หลากหลาย สะดวกและรวดเร็ว แต่อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น ว่างานด้านการศึกษานั้นไม่ได้มีแค่การเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว และ TEZ (ทีอีซี่) เป็นแพลตฟอร์มที่สามารถเป็นศูนย์กลางข้อมูลทางการศึกษา ที่ครู บุคลากร และผู้บริหารแต่ละโรงเรียน สามารถใช้งาน และบริหารจัดการข้อมูลภายในโรงเรียนทั้งข้อมูลทั่วไป และข้อมูลนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนและผู้ปกครองสามารถสมัครเรียน และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นได้อย่างง่ายดาย

ด้วยแนวคิดการออกแบบและพัฒนาซอฟท์แวร์จากคำว่า “ง่าย ๆ” ให้ใครก็ใช้ได้ทุกที่ ทุกเวลา รองรับการใช้งานผ่านทั้งเดสก์ทอปและสม์ทโฟน ตอบโจทย์การศึกษายุค 4.0 คุณครูเหลือเวลาเตรียมการเรียนการสอน คิด ค้นคว้า สิ่งที่เป็นประโยชน์และพัฒนาผู้เรียนได้อย่างเต็มที่

 

แหล่งที่มา
http://old-book.ru.ac.th/e-book/e/EA443/ea443-5-1.pdf

https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/474002

https://thematter.co/social/burden-on-teachers/87255

https://www.prachachat.net/education/news-790814

https://thematter.co/social/ed-tech-thai-education/113220