โมดูลที่นิยมใช้งานของ SAP ที่ผู้บริหารมือโปร เขารู้กัน

SAP สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานขององค์กรได้เป็นหนึ่งเดียว เพราะมีหน่วยย่อยมากมาย ที่ทำงานร่วมกันอยู่ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับธุรกิจนั้น ๆ หรือ ตามความต้องการขององค์กรได้อย่างยืดหยุ่น เราจะมาเล่าถึงเจ้าหน่วยการทำงานยิบย่อยที่ว่า เพื่อให้เข้าใจการทำงานของระบบ SAP มากยิ่งขึ้น

หลังจากได้ทำความรู้จักกับ SAP ซึ่งเราอวยยศให้เป็นหนึ่งในสุดยอดซอฟท์แวร์ระบบ ERP กันแบบคร่าวๆไปแล้ว วันนี้เราจะมาอธิบายรายละเอียดการทำงานกันแบบลงลึกยิ่งขึ้น อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า SAP เชื่อมโยงการดำเนินงานขององค์กรเป็นหนึ่งเดียว เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

SAP มีหน่วยการทำงานย่อยมากมาย ทำหน้าที่แตกต่างกัน เข้ามาช่วยจัดสรรระบบการดำเนินการของแต่ละแผนก แต่ละฝ่าย ได้อย่างเหมาะสม สามารถตอบโจทย์การทำงานขององค์กรนั้น ๆ ซึ่งหน่วยการทำงานย่อยเหล่านี้ เราเรียกว่า “โมดูล” (Module) โมดูลที่น่าสนใจและเป็นนิยมในการใช้งาน ได้แก่

  • Financial Accounting (FI) ระบบบัญชีการเงิน
  • Controlling (CO) ระบบควบคุมต้นทุน
  • Material Management (MM) ระบบบริหารคลังวัสดุ และการจัดซื้อ
  • Production Planning (PP) ระบบการผลิต
  • Sales and Distribution (SD) ระบบการขาย และจัดจำหน่าย
  • Human Capital Management (HCM) ระบบการบริหารและจัดการทรัพยากรบุคคล

อย่ารอช้า มาทำความรู้จักแต่ละโมดูลให้มากขึ้น เลื่อนต่อไปเลย

 

SAP FI - Financial Accounting

เริ่มกันที่ Financial Accounting (FI) หรือระบบบัญชีการเงิน จัดสรรและควบคุมต้นทุน วางแผนและจัดทำงบประมาณ และบริหารกระแสเงินสด ทำให้สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินการทางด้านการเงินของธุรกิจ ถือเป็นระบบที่่มีความสำคัญอย่างมาก สามารถแบ่งเป็น Sub-Module ย่อย ได้แก่

  • ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger Accounting : GL)
  • ระบบบัญชีลูกหนี้ (Accounts Receivable Accounting : AR)
  • ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Accounts Payable Accounting : AP)
  • ระบบบัญชีทรัพย์สิน (Asset Accounting : AA)

 

SAP CO - Controlling

 

Controlling (CO) ระบบควบคุมต้นทุน เป็นมากกว่าระบบที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลเพื่อเรียกดู แต่สามารถช่วยวางแผนและควบคุมต้นทุนการผลิต โครงการหรือกิจกกรรมของธุรกิจ สามารถติดตามและปรับแต่งข้อมูลเพื่อการวัดผลตามความต้องการของธุรกิจได้ ใช้สำหรับการวิเคราะห์และรายงานแก่ผู้บริหาร ทำให้สามารถเห็นภาพรวมของงบกำไร-ขาดทุน และต้นทุนต่าง ๆ ทั้งภายในและระหว่างองค์กร

 

SAP MM - Material Management

 

ถัดมาคือ Material Management (MM) ไม่ใช่ M&M ขนมเคลือบช็อกโกแลตแต่อย่างใด แต่คือระบบบริหารคลังวัสดุ และการจัดซื้อ เป็นระบบที่เกิดมาเพื่อวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP – Material Requirement Planning) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการวางแผนเพื่อการผลิต โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ตามความต้องการวัตถุดิบ ดำเนินการจัดซื้อ (Procurement) อีกทั้งยังสามารถจัดการคลังวัสดุ (Inventory Management : IM) ได้อีกด้วย

 

SAP PP - Production Planning

 

Production Planning (PP) เป็นโมดูลที่รวบรวมขั้นตอนการทำงานของระบบการบริหารการผลิตเข้าไว้ เช่น ระบบการจัดการข้อมูลผลิตภัณฑ์ (PDM – Product Data Management) ขั้นตอนการผลิต (Routing) ระบบการวางแผนการผลิต (Production Planning) ระบบควบคุมการผลิต (Shop Floor Control) ระบบต้นทุนทางด้านการผลิต (Production Cost) เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมการผลิตตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า

 

SAP SD - Sales and Distribution

 

Sales and Distribution (SD) ระบบการขาย และจัดจำหน่าย ครอบคลุมการบริหารและจัดการงานขาย (Sale Management) กำหนดราคาขาย และการรับออร์เดอร์จากลูกค้า (Purchase Order) ไปจนถึงการบรรจุหีบห่อและจัดส่งสินค้า และบริการหลังการขาย ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า เชื่อมต่อระบบสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แบบออนไลน์

 

SAP HCM - Human Capital Management

 

สุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด Human Capital Management (HCM) ระบบการบริหารและจัดการทรัพยากรบุคคล “คน” ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนทุกกิจกรรมขององค์กร ต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างดีที่สุด ตั้งแต่ การบริหารเวลาการทำงาน (Attendance Management) การบริหารเงินเดือน (Payroll Management) ไปจนถึงการประเมินผล (Evaluation) รวมถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ของบุคคลผู้ซึ่งทำงานเพื่อองค์กรนั้น ๆ

 

แม้จะเป็นเพียงการเรียกน้ำย่อยด้วยโมดูลที่นิยมของระบบ SAP เพียงไม่กี่โมดูล แต่ก็ถือว่าเป็นมื้อที่ค่อนข้างใหญ่เลยทีเดียว เรียกได้ว่า SAP มีทุกฟังก์ชันที่องค์กรต้องการในการดำเนินธุรกิจ สมบูรณ์ ครบ จบในระบบเดียวอย่างแท้จริง ดีขนาดนี้ เริ่มอยากได้ SAP มาไว้ในครอบครองเพื่อช่วยให้ธุรกิจ Flow แบบคล่องปรื๋อ แต่.. ช้าก่อน ของดีมักแลกมาด้วยการลงทุนที่ค่อนข้างสูง

“แพง” เป็นคำที่รู้กันว่าต้องโพล่งออกมาเมื่อได้เห็นราคาเจ้าระบบ SAP สุดเทพตัวนี้ มีเงินอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องลงทุนอย่างชาญฉลาด หากยังไม่แน่ใจว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร SAP ที่ใช้อยู่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ เราอาสาเป็นเพื่อนรู้ใจ คอยให้คำปรึกษาให้คุณเอง

แหล่งที่มา

https://www.dailytech.in.th/what-is-sap/

https://www.dailytech.in.th/sap-implementation/

https://wattanapong20.wordpress.com/assignment-sap/modules-การทำงานที่นำ-sap-มาใช้