โมดูลที่นิยมใช้งานของ SAP ที่ผู้บริหารมือโปร เขารู้กัน
SAP สามารถเชื่อมโยงการดำเนินงานขององค์กรได้เป็นหนึ่งเดียว เพราะมีหน่วยย่อยมากมาย ที่ทำงานร่วมกันอยู่ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับธุรกิจนั้น ๆ หรือ ตามความต้องการขององค์กรได้อย่างยืดหยุ่น เราจะมาเล่าถึงเจ้าหน่วยการทำงานยิบย่อยที่ว่า เพื่อให้เข้าใจการทำงานของระบบ SAP มากยิ่งขึ้น
หลังจากได้ทำความรู้จักกับ SAP ซึ่งเราอวยยศให้เป็นหนึ่งในสุดยอดซอฟท์แวร์ระบบ ERP กันแบบคร่าวๆไปแล้ว วันนี้เราจะมาอธิบายรายละเอียดการทำงานกันแบบลงลึกยิ่งขึ้น อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า SAP เชื่อมโยงการดำเนินงานขององค์กรเป็นหนึ่งเดียว เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SAP มีหน่วยการทำงานย่อยมากมาย ทำหน้าที่แตกต่างกัน เข้ามาช่วยจัดสรรระบบการดำเนินการของแต่ละแผนก แต่ละฝ่าย ได้อย่างเหมาะสม สามารถตอบโจทย์การทำงานขององค์กรนั้น ๆ ซึ่งหน่วยการทำงานย่อยเหล่านี้ เราเรียกว่า “โมดูล” (Module) โมดูลที่น่าสนใจและเป็นนิยมในการใช้งาน ได้แก่
- Financial Accounting (FI) ระบบบัญชีการเงิน
- Controlling (CO) ระบบควบคุมต้นทุน
- Material Management (MM) ระบบบริหารคลังวัสดุ และการจัดซื้อ
- Production Planning (PP) ระบบการผลิต
- Sales and Distribution (SD) ระบบการขาย และจัดจำหน่าย
- Human Capital Management (HCM) ระบบการบริหารและจัดการทรัพยากรบุคคล
อย่ารอช้า มาทำความรู้จักแต่ละโมดูลให้มากขึ้น เลื่อนต่อไปเลย
เริ่มกันที่ Financial Accounting (FI) หรือระบบบัญชีการเงิน จัดสรรและควบคุมต้นทุน วางแผนและจัดทำงบประมาณ และบริหารกระแสเงินสด ทำให้สามารถวิเคราะห์และตรวจสอบการดำเนินการทางด้านการเงินของธุรกิจ ถือเป็นระบบที่่มีความสำคัญอย่างมาก สามารถแบ่งเป็น Sub-Module ย่อย ได้แก่
- ระบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (General Ledger Accounting : GL)
- ระบบบัญชีลูกหนี้ (Accounts Receivable Accounting : AR)
- ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Accounts Payable Accounting : AP)
- ระบบบัญชีทรัพย์สิน (Asset Accounting : AA)
Controlling (CO) ระบบควบคุมต้นทุน เป็นมากกว่าระบบที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลเพื่อเรียกดู แต่สามารถช่วยวางแผนและควบคุมต้นทุนการผลิต โครงการหรือกิจกกรรมของธุรกิจ สามารถติดตามและปรับแต่งข้อมูลเพื่อการวัดผลตามความต้องการของธุรกิจได้ ใช้สำหรับการวิเคราะห์และรายงานแก่ผู้บริหาร ทำให้สามารถเห็นภาพรวมของงบกำไร-ขาดทุน และต้นทุนต่าง ๆ ทั้งภายในและระหว่างองค์กร
ถัดมาคือ Material Management (MM) ไม่ใช่ M&M ขนมเคลือบช็อกโกแลตแต่อย่างใด แต่คือระบบบริหารคลังวัสดุ และการจัดซื้อ เป็นระบบที่เกิดมาเพื่อวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP – Material Requirement Planning) ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการวางแผนเพื่อการผลิต โดยเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ตามความต้องการวัตถุดิบ ดำเนินการจัดซื้อ (Procurement) อีกทั้งยังสามารถจัดการคลังวัสดุ (Inventory Management : IM) ได้อีกด้วย
Production Planning (PP) เป็นโมดูลที่รวบรวมขั้นตอนการทำงานของระบบการบริหารการผลิตเข้าไว้ เช่น ระบบการจัดการข้อมูลผลิตภัณฑ์ (PDM – Product Data Management) ขั้นตอนการผลิต (Routing) ระบบการวางแผนการผลิต (Production Planning) ระบบควบคุมการผลิต (Shop Floor Control) ระบบต้นทุนทางด้านการผลิต (Production Cost) เป็นต้น ซึ่งครอบคลุมการผลิตตั้งแต่ต้น ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า
Sales and Distribution (SD) ระบบการขาย และจัดจำหน่าย ครอบคลุมการบริหารและจัดการงานขาย (Sale Management) กำหนดราคาขาย และการรับออร์เดอร์จากลูกค้า (Purchase Order) ไปจนถึงการบรรจุหีบห่อและจัดส่งสินค้า และบริการหลังการขาย ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า เชื่อมต่อระบบสินค้าคงคลัง (Inventory Control) ได้แบบออนไลน์
สุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด Human Capital Management (HCM) ระบบการบริหารและจัดการทรัพยากรบุคคล “คน” ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนทุกกิจกรรมขององค์กร ต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างดีที่สุด ตั้งแต่ การบริหารเวลาการทำงาน (Attendance Management) การบริหารเงินเดือน (Payroll Management) ไปจนถึงการประเมินผล (Evaluation) รวมถึงผลประโยชน์ต่าง ๆ ของบุคคลผู้ซึ่งทำงานเพื่อองค์กรนั้น ๆ
แม้จะเป็นเพียงการเรียกน้ำย่อยด้วยโมดูลที่นิยมของระบบ SAP เพียงไม่กี่โมดูล แต่ก็ถือว่าเป็นมื้อที่ค่อนข้างใหญ่เลยทีเดียว เรียกได้ว่า SAP มีทุกฟังก์ชันที่องค์กรต้องการในการดำเนินธุรกิจ สมบูรณ์ ครบ จบในระบบเดียวอย่างแท้จริง ดีขนาดนี้ เริ่มอยากได้ SAP มาไว้ในครอบครองเพื่อช่วยให้ธุรกิจ Flow แบบคล่องปรื๋อ แต่.. ช้าก่อน ของดีมักแลกมาด้วยการลงทุนที่ค่อนข้างสูง
“แพง” เป็นคำที่รู้กันว่าต้องโพล่งออกมาเมื่อได้เห็นราคาเจ้าระบบ SAP สุดเทพตัวนี้ มีเงินอย่างเดียวไม่ได้ เราต้องลงทุนอย่างชาญฉลาด หากยังไม่แน่ใจว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร SAP ที่ใช้อยู่คุ้มค่าและมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ เราอาสาเป็นเพื่อนรู้ใจ คอยให้คำปรึกษาให้คุณเอง
แหล่งที่มา
https://www.dailytech.in.th/what-is-sap/
https://www.dailytech.in.th/sap-implementation/
https://wattanapong20.wordpress.com/assignment-sap/modules-การทำงานที่นำ-sap-มาใช้